ดีเกินไป (จบ)

.

.

คราวนี้เรามามองฝ่ายผู้เลือกกันบ้าง

พี่ป้อง ซึ่งเสน่ห์กระฉ่อนทะเลสาบ Leman วันนี้จับคู่ดูโอกับพี่เมี่ยว ซึ่งเป็นที่หมายปอง ของหนุ่มๆ ทั่วแคว้น Romande ไม่แพ้กัน นั่นก็รวมทั้งซังและซูมของเราด้วย แต่ไม่ใช่ว่าทั้งสองจะคบใครก็ได้ หากจะออกเดททั้งทีก็ต้องมี preference กันบ้าง

มาดูบทสัมภาษณ์ประกอบก่อน

  • ถาม: ถ้าให้เลือกระหว่างคนดีกับคนเลวพี่ป้องจะเลือกใครครับ
  • พี่ป้อง: พี่ว่าคนดีมันเลี่ยนไปหรือเปล่า ชีวิตไม่ตื่นเต้นเลย เอาความดีออกไปแล้วมีอย่างอื่นทดแทนดีกว่ามั๊ย
  • ถาม: ทดแทน? เช่น รวยคารม คมที่หน้าตา พาหนะสองประตู?
  • พี่ป้อง : นั่นแหละๆ ถ้ามีพวกนี้ทดแทน พี่ยอมให้เลวขึ้นเยอะๆ เลย
  • พี่เมี่ยวแทรก: จะดีเหรอพี่ป้อง หนูว่าของพวกนั้นมันแทนความดีของคนไม่ได้หรอก
  • พี่ป้อง : ได้สิเมี่ยว พี่ยอมให้เลวขึ้นสิบขุมนรกเลยถ้าผู้ชายคนนั้นจะผมยาวขึ้นอีกหนึ่งนิ้ว พูดเช็ดคำเอี้ยคำบ่อยขึ้นอีกหน่อย แบบว่าสุดท้ายแล้วพี่คงพอใจเท่ากัน ทดแทนกันได้น่ะ
  • พี่เมี่ยว : เหรอพี่ ของหนูนะถ้าความดีลดลงนิดเดียว คนนั้นก็ต้องมีอะไรมาแทนมากๆๆๆ หนูถึงจะว่าโอเค เช่น รวยขึ้นร้อยล้านนู่น
  • พี่ป้อง : แหมเธอ มันกินไม่ได้นะความดีน่ะ ของพี่รวยขึ้น 100 บาท หรือมีรอยสักเพิ่มหนึ่งรอย ก็ทดแทนได้แล้ว 555
  • คนถาม : หยุดก่อนทั้งสองคน…

จากข้อมูลที่ได้ เรามาดูเส้นความพอใจเท่ากันของพี่ทั้งสองดีกว่า

“เส้นความพอใจเท่ากัน” เป็นเส้นที่บ่งบอกว่า สำหรับคนคนหนึ่ง ทุกจุดบนเส้นจะแสดงค่าความพึงพอใจที่เท่ากันต่อของสองสิ่ง(ที่อยู่บนแกน X และ Y) นั่นคือ ถ้าหากเราลดสิ่งหนึ่งลงโดยเพิ่มอีกสิ่งหนึ่งมาแทน เราก็จะพอใจเท่าเดิมได้นั่นเอง 

หากเราให้สองสิ่งที่จะเปรียบเทียบในที่นี้เป็นคุณสมบัติชายหนุ่มในเรื่อง “ความดี” กับ “คุณสมบัติอื่นๆ” แล้ว เส้นความพอใจเท่ากันของวง 30PM (Pong&Miaw) ของเราจะเป็นอย่างไร?

รูปข้างต้นเป็นลักษณะความพอใจของทั้งสองมาดาม หมายความว่า ผู้ชายที่มีสัดส่วน (ความดี, อื่นๆ) ที่จุด A จะถูกพิจารณาว่า “น่าคบหา” เท่าเทียมกับคนที่มีสัดส่วนที่จุด B เอาเป็นว่า A กับ B ทดแทนกันได้สมบูรณ์นั่นเอง (เพราะแม้ B มีความดีน้อยลงแต่มีอย่างอื่นเพิ่มขึ้น เช่น หน้าตาดีกว่า รวยกว่า หรือ ติดคดีมากกว่า ก็เลยพอใจเท่ากับ A) 

สำหรับพี่ป้อง การที่เส้นชันมากก็เพราะความดีที่เปลี่ยนแปลงมากๆ (จากจุด A ไป Bจะเห็นความดีว่าลดลงฮวบฮาบ) ทดแทนได้ด้วยคุณสมบัติอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นแค่นิดเดียว (จากจุด A ไป B บนแกน “อื่นๆ” เพิ่มขึ้นนิดเดียว) ความที่ชันมากแสดงทัศนคติของพี่ป้องที่มีต่อความดีว่า “กินไม่ได้” 

หากไปถามความเห็นของนักจิตวิทยา ก็อาจจะได้ว่า เพราะในวัยเด็ก พี่ป้องดูหนังแนว “โหด เลว ดี” “ผู้หญิงข้า…ใครอย่าแตะ” หรือ “เข้าแกงส์ไหนหัวหน้าตายหมด” มามาก ตอนเรียนมหาวิทยาลัยก็ยังเป็นเด็กถา’ปัตย์มาก่อน แถมยังซึมซับวัฒนธรรมยากูซ่าจากแฟนเก่ามาก็เยอะ จึงไม่แปลกที่เส้น” ชายในอุดมคติ” ของพี่ป้องจะออกมาเช่นนี้

เช่นกัน สำหรับพี่เมี่ยวที่ยกย่องคุนงามความดีของคนมาก่อนอย่างอื่น การที่จะเปลี่ยนจากจุด A ไป B โดยให้ความพอใจยังคงเท่าเดิมได้นั้น ความดีที่ลดลงเพียงนิดเดียวจึงต้องทดแทนด้วยคุณสมบัติอื่นๆ มากๆ เส้นของเราเลยลาดมากอย่างที่เห็น

ส่วนที่แสดงรูปสองเส้นก็เพราะต้องการอธิบายว่า เส้นที่สูงกว่าให้ค่าความพอใจที่มากขึ้นนั่นเอง (ความจริงแล้วในแผนภูมินี้มีหลายเส้นนับไม่ถ้วนขนานกันไปเรื่อยๆ)

 . 

ก่อนที่จะเครียดเกินและไม่มีคนอ่านต่อ (หรือเลิกอ่านกันไปแล้ว?) เรามาดูผลสรุปเลยแล้วกัน โดยเอารูปเอกซเรย์ชีวิตรักของคนทั้งสองฝ่ายมาพล็อตรวมกัน เพื่อดูดุลยภาพ

ดุลยภาพของพี่ป้องจะได้เช่นนี้

ที่จุดสัมผัส “1” คือความพอใจที่มากที่สุดเท่าที่ “พี่ป้อง” จะมีให้ซังได้ กล่าวคือ หากซังจะทำให้พี่ป้องพอใจสูงสุด ต้องทำตัวเองให้ได้พิกัดสัดส่วน (ความดี, อื่นๆ) ณ จุด 1 ส่วนสัดส่วนที่นอกเหนือจากนั้นมีแต่จะทำให้พี่ป้องพอใจน้อยลง (เส้นความพอใจเส้นต่ำลง) ซึ่งสำหรับซังก็จะได้แค่จุด 1 ไม่สามารถไปอยู่บนเส้นความพอใจที่สูงกว่าได้ จึงไม่มีความเป็นไปได้ไหนเลยที่ซังจะทำให้พี่ป้องพอใจได้มากกว่านี้ได้

ในขณะเดียวกัน หากซูมทำตัวเองให้ได้สัดส่วนที่จุด 2 จะเห็นว่ามันจะสัมผัสเส้นความพอใจของพี่ป้องที่ “สูงกว่า” ของซังได้ ซึ่งก็คือพอใจมากกว่า รักมากกว่า อยากไปเดทด้วยมากกว่านั่นเอง

หากมาดูดุลยภาพของพี่เมี่ยวบ้าง เราก็ต้องใช้แผนภูมิเส้นความพอใจเท่ากันของพี่เมี่ยวมาแปะ จะเห็นว่าพอเส้นมีความลาดมากๆ ซังจะกลับมามีภาษีดีกว่าซูมทันที คือถ้าซังมีสัดส่วน (ความดี, อื่นๆ) ที่จุด 3 ก็จะสัมผัสเส้นความพอใจที่สูงกว่าซูม ซึ่งพยายามให้ตายยังไงก็ได้แค่จุด 4 ซึ่งสัมผัสเส้นความพอใจต่ำกว่า

ที่อธิบายมาทั้งหมดนี้ให้ดูยุ่งยากและปวดสมอง เพราะต้องการแสดงให้เห็นว่า กลไกของ “การเลือก” ของชายหญิงนั้น ไม่ใช่แค่พูดขึ้นมากันลอยๆ ว่า “สเปกชั้นเป็นแบบนั้น แบบนี้” หรือเพียงแค่กล่าวกันไปว่า “ไม่มีเหตุผล ชั้นชอบของชั้นแบบนี้” แบบอธิบายไม่ได้ หรือ ยกประโยชน์ให้พรหมลิขิตกันไปข้างๆ คูๆ

แต่สิ่งเหล่านี้สามารถอธิบายที่มาที่ไปได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ และ ด้วยมายากลของเศรษฐศาสตร์ 

เป็นสามศาสตร์ที่เกี่ยวโยงกับความรักเสียยิ่งกว่า ศิลปศาสตร์ ภาษาศาสตร์ หรือแม้แต่ไสยศาสตร์ เสียอีก 

.

บทสรุปนิยายรักหักเทือกเขาแอลป์ 

เราจะเห็นได้ว่าทั้งซังกับซูมดูรวมๆ แล้วแม้มีคุณสมบัติพอๆ กัน (พื้นที่ใต้เส้นโค้งเท่ากัน) แต่พี่ป้อง กลับพึงใจซูมมากกว่า ในขณะที่พี่เมี่ยวเลือกออกเดทกับซังโดยละม่อม

เห็นได้จากรูปว่า จุด 2 ของพี่ป้องนั้น ความดีน้อยกว่าจุด 1 ตั้งเยอะ แต่ว่าพี่ป้องก็ไม่สน เพราะอย่างที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า สำหรับพี่ป้องนั้นความรักไม่ได้มีไว้มอบให้กับคนดีเสมอไป 

พี่ป้องจึงได้แต่ลูบไล้ผมยุ่งๆ ของซูมแล้วหันมาบอกกับซังว่า

“ซัง… เธอดีเกินไป”

.

.

9 thoughts on “ดีเกินไป (จบ)

  1. กรีดร้อง สุดตีน พี่นัตแม่งเขียนเก่งว่ะ
    ชอบตอนจบด้วย ลูบผมยุ่ง ๆ ห้าๆ อาจจะต้องบอกว่า แก”ดี” และ “อ้วน” เกินไปว่ะ
    55555555555555555555555555555555555555555555555

  2. ชอบบทสนทนาของพี่ป้องกับพี่เมี่ยว ตรงที่เก็บเอาคำพูดในแบบฉบับของทั้งสองคนมาใช้ได้อย่างแนบเนียน

    ส่วนข้างล่างขอสารภาพว่าอ่านข้ามๆ เห็นกราฟแล้วเวียนหัว กินข้าวแล้วจะมาอ่านใหม่นะพี่นัต

  3. นั่นเป็นที่มาของสุภาษิต Classic ว่า “ชอบคนดี รักคนเลว แต่งงานกับคนรวย”. ; )

  4. ขำๆนะครับ อย่าซีเรียส เห็นแล้วมันอดไม่ไหวจริงๆ…
    ใครอ่านรู้เรื่องมาถกกันได้เลยครับ บอกได้เลยว่าทฤษฏีข้างล่างของจริงล้วนๆ ^^

    #include<>
    Conjugate variables (Goodness & Elseness)
    Conservation of time (Theoretical area under curve of conjugate variables is constant)
    Persodynamics system (Omega(good, else))
    Persodynamics efficiency limit (Allocation of area has non-ideal efficiency < 1).
    Satisfactoric function (gives determinant of the given system)
    Isosatisfactoric level (level of systems with same determinants given by above function)

    (Some) application:

    Heisenburg uncertainty: d(good) * d(else) >= hbar
    – i.e, the product of changes in goodness and elseness has to be greater than lower quantum limit.
    – i,e, You can’t significantly change both variables at the same time.

    Relativistic (Lorentz) transformation
    – The given conj vars (goodness, elseness) is variant under lorentz transformation
    – i.e, value of given conj vars is different under different frame of reference.
    – i.e, value of given conj vars has no absolute (universal) values
    – i.e, value of goodness-elseness depends on observator.
    – The quadrivector of given conj vars (including their scalar product) is invariant under such transformation.
    – i.e, given two set of quadrivector (‘system’), their scalar product is invariant.
    – i.e, given two people, the scalar product of their vars (goodness, elseness) is always constant
    – i.e, given two people, their ‘compatibility’ product is not effect by other vars/people.
    – However, given that the system is dynamic, the scalar product remains a function of time).

    Thermodynamics potential (Let internal energy U = Good*Else)
    > dU/dS = T (S is entropy, T is temperature)
    – i.e, The more ‘chaos’ (entropy) you are, the less ‘hot’ (temperature) you will be.
    > dU/dV = -P (V is volume, P is pressure)
    – i.e The more friendy you are (higher volume), the less you can feel the pressure exerted by other system onto you.
    > dU/dMu = -N (Mu is chemical potential (barrier), N is number of particle)
    – i.e, The greater chemical potential you are, the less particles will leave the system
    – i.e, The greater attractive potential you are, the less probable someone will leave you…

  5. ท๊อป พี่อ่านแล้วเข้าใจรูเรื่องเป็นบรรทัดๆ ไปว่ะ (ไม่ทุกบรรทัดด้วย) แต่โมเดลนี้มันต้องมีอะไรให้ imply มากกว่านั้นใช่มั๊ย ไว้อธิบายปากเปล่าให้ฟังเมื่อเจอกันอีกทีว่ะ

    • มีครับ แบบว่าโมเดลพี่รากฐานดีมาก ตั้งสมมติฐานอะไรนิดเดียวต่อยอดไปได้อีกเยอะ 555 เพิ่มพูนความขลังขึ้นอีกระดับ

  6. กรี๊ดดดด โดนพาดพิงเต็มๆ
    เสริมนิดหน่อยว่า ความลาดชันนี่นอกจากประสบการณ์แล้ว อาจะเกี่ยวข้องกับอายุโดยตรง อิอิอิ

  7. พี่นัต เจอกันครั้งหน้า พี่ต้องอธิบายเส้น Utility ให้ฟังด้วยนะคับ ขอละเอียด ๆ เป็นสิ่งที่อยากรู้มานานแล้ว (เส้นที่ผมใช้อยู่ เหมือนประยุกต์มาจากเส้นของพี่อีกที เพื่อใช้อธิบายความพึงพอใจของนักลงทุนที่มีระดับการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงมากน้อยต่างกัน (Risk averse))
    ท้อป ไอ้ทฤษฏีที่บอกว่าขำ ๆ เนี่ย กรุณาชี้แจงด่วน เจอกันครั้งหน้า (มันประยุกต์อะไรกัน ความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก เทอร์โมไดนามิกซ์)

    • โอเคว่ะวัท ต้องคุยกับท๊อปด้วยเหมือนกัน

Leave a reply to jeabjiab Cancel reply