ปัญหาและความประทับใจในเช้าวันหยุด

เช้านี้เป็นเช้าวันแรกของวันหยุดยาวเนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ โดยสิ่งที่ผมและหลายๆคนกลัวมากในวันแรกของวันหยุดยาวเช่นก็ได้เกิดขึ้นกับผมอย่างที่ผมหลบหลีกไม่พ้น ผมตื่นขึ้นมาในเวลาเจ็ดโมงครึ่งโดยไม่มิได้ใครหรืออะไรมาปลุกผมแต่อย่างใด แน่นอนผมก็ลองนอนต่อตามสูตร ซึ่งก็แน่นอนอีกว่าได้แค่พลิกตัวไปมาบนเตียง พลิกไปก็พลิกมาจนถึงเวลาราวแปดโมงครึ่งจึงทำใจยอมแพ้ต่อชะตากรรมและลุกขึ้นมาหาอะไรทำ

ตื่นมาเช้าๆอย่างนี้จะให้ทำอะไรล่ะครับ ผมก็ไปเข้าห้องน้ำก่อนตามขั้นตอน พอออกจากห้องน้ำมันก็หิวเล็กๆตามขั้นตอนอีก ผมจึงเดินไปที่ครัวเพื่อรับประทานอาหารเช้า

เปิดประตูเข้าครัวไปก็พบรูมเมทชาวสวิสเยอรมันนั่งตักซีเรียลเข้าปากอยู่ก่อนแล้ว ผมกล่าวสวัสดีแล้วก็หยิบขนมปังมาหั่นใส่จาน ชงชาหนึ่งแก้ว เปิดตู้เย็นหยิบเนยและน้ำผึ้งมาทาขนมปังแล้วก็น้ำทั้งหมดนั้นไปนั่งตรงข้ามรูมเมท เธอชื่อโจฮานน่า

ผมนั่งลงปุ๊ปโจฮานน่าก็ลุกขึ้นปั๊บ เหตุเพราะกาแฟที่เธอต้มไว้นั้นเดือดพอดี อีกทั้งขนมปังที่เธอปิ้งไว้ก็เด้งขึ้นมาในจังหวะเดียวกัน เธอทำทั้งหมดนั้นกลับมาวางไว้บนโต๊ะ ยิ้มให้ผมหนึ่งทีตามปรกติของเธอที่เป็นคนยิ้มแย้มเจ่มใส แล้วเธอก็เริ่มตักแยมผิวส้มมาทาบนแผ่นขนมปัง

หลังจากที่ผมจัดการขนมปังไปได้กลายคำและชาไปอีกเศษหนึ่งส่วนสี่แก้ว ผมก็สงสัยว่าทำไมโจฮานน่าถึงตื่นเช้าขนาดนี้ในวันแรกของวันหยุดยาว… เธอกำลังประสบกับปัญหาเดียวกับผมหรือไม่ ผมนึกดีใจเพราะอาจจะได้เพื่อนร่วมปัญหามาช่วยกันปรับทุกข์ แต่แล้วก็คิดขึ้นได้่ว่าหลายวันมานี้รูมเมทหลายๆคนแยกย้ายกันกลับบ้านหาครอบครัวเนื่องในโอกาสคริสต์มาส และหลายๆคนก็ต้องตื่นเช้าเพื่อไปขึ้นรถไฟหรือเครื่องบินกลับบ้าน คิดๆไปแล้วโจฮานน่าน่าจะตื่นเช้ามาเพื่อเหตุนี้เสียมากกว่า ผมจึงถามเธอไปว่าเธอจะกลับบ้านวันนี้หรือ ถึงได้ตื่นเช้าเช่นนี้

คำตอบที่เธอให้กลับมานั้นน่าตกใจยิ่งนัก เพราะมันไม่ตรงกับสักข้อสันนิษฐานที่ผมได้ตั้งไว้แต่อย่างใด เธอบอกว่าเธอตื่นเช้ามาเพื่ออ่านหนังสือ และจะอยู่อ่านที่นี่จนถึงวันคริสต์มาสค่อยกลับไปสังสรรค์กับครอบครัว แต่จริงๆแล้วผมก็ไม่ค่อยแปลกใจเท่าไหร่ที่โจฮานน่าตื่นมาอ่านหนังสือเช้าขนาดนี้ เพราะเธอทำเช่นนี้มาเป็นเวลาเกือบสองเดือนแล้ว

คุยกันไปคุยกันมาเรื่องเรียนก็มาถึงตอนที่โจฮานน่าบ่นเรื่องอาจารย์คนหนึ่งที่มหาลัยที่สอนโดยใช้วิธีอ่านจากหนังสือให้นักเรียนในห้องฟัง ผมรู้สึกดีใจที่ในที่สุดผมได้มีเพื่อนร่วมปัญหามาร่วมกันปรับทุกข์ (แม้จะไม่ใช่ปัญหาการตื่นเช้าในวันหยุดก็ตาม) ผมเคยพบกับอาจารย์ที่สอนแบบนี้มาหลายคนแล้ว และผมก็เกลียดการสอนแบบนี้เป็นที่สุด เพราะผมเห็นว่ามันไม่ต่างอะไรกับการที่ให้นักเรียนนั่งอ่านหนังสืออยู่ที่บ้านแต่อย่างใด แล้วชั้นเรียนจะมีประโยชน์อันใด? ผมถึงกับต้องรีบแบ่งปันประสปการณ์ที่ผมเคยมีมาเล่าไปให้โจฮานน่าฟัง

แต่แล้วโจฮานน่าก็ได้เล่าถึงตอนจบแบบหักมุมของนิทาน(เรื่องครูอ่านหนังสือให้นักเรียนฟังเป็นการสอน)ที่ฟังและบ่นกันมามากมายและนมนานในหมู่นักเรียนนักศึกษา เธอบอกว่าก่อนหมดภาคเรียนแรกนั้นทางมหาวิทยาลัยได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาประเมินการสอนของอาจารย์ในแต่ละวิชา นักศึกษาในชั้นเรียนของอาจารย์ดังกล่าวก็ได้ทำหน้าที่ของตัวเองกันอย่างถูกต้อง โดยบอกไปถึงปัญหาที่ครูสอนโดยใช้วิธีการอ่านให้ฟัง และอีกหลายๆปัจจัยซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของพวกเขา โดยในชั่วโมงเรียนก่อนวันหยุด อาจารย์คนนี้ก็ได้มาพูดขอโทษนักเรียนทั้งห้องและนำหนังสือมาให้ดูสองเล่ม หนังสือทั้งสองเล่มนั้นคือหนังสือว่าด้วยการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ดี เขาบอกกับทุกคนว่าระหว่างวันหยุดยาวนี้เขาจะอ่านหนังสือทั้งสองเล่มนี้และจะปรับปรุงรูปแบบการสอนของเขาทันทีเมื่อเปิดภาคเรียนถัดไป นักเรียนทั้งห้องปรบมือชื่นชม

คราวนี้ผมถึงกับตะลึงในตอนจบของเรื่องนี้ ไม่น่าเชื่อว่าอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่ง(เท่าที่ผมได้เคยพบปะมาที่เมืองไทย)มักจะถือว่าตัวเองเป็นคนมีความรู้และอยู่ในระดับที่เหนือกว่านักศึกษา จะยอมกล่าวขอโทษและถ่อมตนเพื่อพัฒนาการสอน เป็นการพัฒนาเพื่อส่วนรวมของจริง ผมอยากจะเจออาจารย์ท่านนี้จริงๆ เพื่อจะขอเข้าไปจับมือสักครั้ง อยากให้แกเป็นตัวอย่างของทั้งผู้ที่เป็นอาจารย์ หรือแม้จะทำอาชีพอื่นก็ตาม บางทีการที่เราจะยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและนำมาปรับปรุงตนเองนั้น ก็เป็นเรื่องที่น่าจะเป็นประโยชน์ไม่น้อย

นี่แหละครับปัญหาและความประทับใจของผมในเช้าวันนี้

 

ฉากหนึ่งในโรงพยาบาล

ในห้องพักรวมภายในบริเวณห้องฉุกเฉิน 

 

เวลาประมาณ 8.30น. หลังคนไข้พากันรับประทานอาหารเช้าเสร็จ

 

เสียงหายใจที่ติดขัดซะจนเหมือนกับจะสำลักเสลดอยู่ตลอดเวลาดังมาจากเตียงใดเตียงหนึ่งของด้านตรงข้าม เสียงเครื่องมือทางการแพทย์ที่ดังตี๊ดๆเป็นจังหวะอยู่เรื่อยไป เสียงโหวกเหวกจากชายชราเตียงข้างๆที่พร่ามไม่เป็นภาษาดังแทรกขึ้นมาอีกหนึ่ง ภาพคนไข้ชราผอมแกร็นผู้หนึ่งกำลังพยายามอย่างหนักในการนั่งลงบนเก้าอี้ข้างหน้าต่างนำพาให้สายตาของผมมองเห็นภาพตึกร้างที่กินพื้นที่เกือบทั้งหมดของหน้าต่าง กากบาทสีแดงถูกขีดไว้บนหน้าต่างทุกบานของตึกร้างตึกนี้ เสียงโหวกเหวกไม่เป็นภาษายังคงดังมาจากเตียงข้างๆไม่หยุดหย่อน ทั้งหมดนี้นำพาเอาจิตใจของคนไข้หน้าใหม่อย่างผมหม่นหมองลงไปไม่น้อย…

 

นางพยาบาลคนหนึ่งเดินมาถึงเตียงข้างๆเพื่อวัดไข้และความดันตามหน้าที่ นางได้รับการทักทายเป็นการพล่ามเสียงดัง แต่นางก็กล่าวสวัสดีกลับไปอย่างยิ้มแย้ม และตลอดห้านาทีที่นางปฏิบัติหน้าที่ นางก็ได้พูดคุยกับชายชราผู้พูดไม่เป็นภาษาอย่างสนุกสนาน…

 

มองออกไปนอกหน้าต่างอีกหน พบว่าภาพส่วนน้อยบนพื้นที่ของหน้าต่างยังปรากฏท้องฟ้าสีฟ้าใสและปุยเมฆขาวลอยอยู่หลายปุย…

ในโรง ครั้งแรก นั่งพื้น ประทับใจ

เป็นระยะเวลาประมาณหนึ่งปีห้าเดือนมาแล้วที่ผมมาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ หากแต่วันนี้เป็นครั้งแรกที่ผมได้มีโอกาสไปดูหนังในโรงหนังในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

โรงที่ไปดูเป็นโรงหนังเล็กๆแบบที่ไม่ต้องไปแปะตัวอยู่ในห้างฯ (ซึ่งไม่รู้ทุกวันนี้ยังมีหลงเหลืออยู่ที่บ้านเราหรือเปล่า) ที่ว่ามันเล็กนี่เล็กจริงๆ ขนาดประมาณหนึ่งส่วนสี่ของโรงหนังปกติบ้านเราได้ โรงนี้ถ้าให้เปรียบก็คงคล้ายๆกับลิโด้สกาล่าบ้านเรา (ชื่อสกาล่าเหมือนกัน) ฉายหนังประเภทที่ไม่ใช่หนังตลาด

ส่วนหนังที่ผมไปดูนั้นจริงๆเป็นสารคดี เกี่ยวกับดนตรีบาลข่าน (Balkan Melodies) โปรแกรมบอกว่าหนังเริ่มฉายหกโมงครึ่ง ผมเป็นว่ามันเป็นสารคดี คนคงดูไม่เยอะ เลยไปถึงตอนหกโมงครึ่งพอดี ปรากฏว่าคิวยาวออกมาบนบาถวิถีและยาวไปอีกสองสามห้องแถวเลยทีเดียว พอถึงคิวผมกับเพื่อนก็ปรากฏว่าเป็นตั๋วสองใบสุดท้ายที่คนขายบอกว่าเป็นแถวหน้าสุดและอยู่ติดกับจอมากๆ

พอเข้าโรง คนมานั่งจนเต็มแล้ว มีคนนั่งอยู่กับพื้นก็ไม่น้อย พอผมกับเพื่อนเห็นว่าที่นั่งแถวหน้านั้นอยู่ติดจอขนาดไหน ก็ตัดสินใจนั่งพื้นกัน ระหว่างนั้นก็มีโฆษณาฉาย ทั้งหมดประมาณสิบนาที แล้วหนัง(สารคดี)ก็เริ่ม

ความประทับใจในการมาโรงภาพยนตร์ของผมครั้งนี้ก็คือ 1.ตัวโรงสร้างมาเพื่อให้ผู้ชมมาชมภาพยนตร์จริงๆ สังเกตุจากขนาดเล็กกระทัดรัด ระบบเสียงไม่ได้เว่อร์อะไร แม้กระทั่งป๊อปคอร์นยังไม่มีขาย 2. แม้จะเป็นสารคดี แต่ผู้คนก็ให้ความสำคัญมาชมกัน 3. คนที่มาดูมีตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงรุ่นอากงอาม่า 4. สารคดีทำดีมากและเพลงก็เพราะมาก 5. พอหนังจบผู้ชมได้แสดงความชื่นชมด้วยการปรบมือ น่าจะเป็นครั้งแรกที่ผมได้ยินเสียงปรบมือในโรงภาพยนตร์ 6. ข้อหนึ่งถึงห้าทำให้ผมรู้สึกว่าเงิน 13 ฟรังค์(ประมานสี่ร้อยกว่าบาท)ที่จ่ายไปนั้นคุ้มค่าจริง

อยากให้บ้านเรามีโรงหนังเล็กๆ น่ารักๆ ที่ฉายหนังที่มีคุณค่ามากไปกว่าแค่ตัวเลขของทุนที่ลงไปกับหนังนั้นๆ และที่สำคัญ อย่าไปตั้งอยู่ในห้างฯเลย

ประเทศบาสก์ – บทที่หนึ่ง

เป็นครั้งแรกที่ผมได้ขึ้นเครื่องบินไปเที่ยวอีกประเทศหนึ่งพร้อมกับเพื่อนๆฝรั่ง และเป็นครั้งแรกที่ผมได้ไปเหยียบประเทศสเปน

แต่เดี๋ยวก่อน สิ่งที่ผมเขียนไปด้านบนอาจจะมีใครหลายคนไม่เห็นด้วย ผมขออนุญาตเริ่มใหม่

เป็นครั้งแรกที่ผมได้ขึ้นเครื่องบินไปเที่ยวอีกประเทศหนึ่งพร้อมกับเพื่อนๆฝรั่ง และเป็นครั้งแรกที่ผมได้ไปเหยียบประเทศบาสก์

ผมเชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านอาจจะกำลังงงเมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ ผมขออธิบายถึงที่ๆผมได้ไปเยือนมาเลยละกัน ที่ๆผมไปมานั้นก็คือแคว้นบาสก์ แคว้นบาสก์คือบริเวณทางภูมิศาสตร์ที่เป็นถิ่นกำเนิดของชนชาวบาสก์ ซึ่งกินเนื้อที่ทั้งสองฟากของชายแดนฝรั่งเศส-สเปนด้านชายฝั่งแอตแลนติค ส่วนของเเคว้นบาสก์ที่ผมไปเหยียบมานั้นคือส่วนที่อยู่ในเขตแดนสเปน ต่อไปนี้คือมุมมองของหลายฝ่ายที่มีต่อพื้นที่นี้

เริ่มจากกฏหมายรัฐธรรมนูญปี 1978 ของสเปนที่ระบุว่าพื้นที่นี้คือ เขตปกครองตนเองแห่งประเทศบาสก์ (Comunidad Autonomia del Pais Vasco) นี่หมายความว่าประเทศบาสก์มีรัฐบาลเป็นของตัวเอง มีอำนาจบริหารงานในหลายๆเรื่อง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด และนี่ก็หมายความว่าประเทศบาสก์เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสเปน โดยข้อนี้ตรงกับความคิดชาตินิยมสเปนที่มองว่าประเทศสเปนสมควรเป็นหนึ่งเดียว (เนื่องจากราชอาณาจักรสเปนประกอบไปด้วยแคว้นต่างๆ โดยที่หลายๆแคว้นมีชนชาติ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และ/หรือภาษาที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น แคว้นคาตาลูเนีย และแคว้นบาสก์)

ผู้ที่มีความคิดชาตินิยมบาสก์มีความเห็นว่าประเทศบาสก์ไม่ควรต้องอยู่ในสถานะตามที่กฏหมายสเปนระบุ เนื่องจากประชาชนบาสก์ส่วนมากลงความเห็นไม่รับรองรัฐธรรมนูญปี 1978 (แต่ประชากรสเปนส่วนมากรับรองรัฐธรรมนูญนี้จึงผ่าน) เขาจึงเชื่อว่าประเทศบาสก์ไม่ควรต้องอยู่ภายใต้กฏหมายที่ตนเองไม่ได้รับรอง

ต่อจากนี้ผมจึงขอเรียกที่ๆผมไปเที่ยวมาว่า ประเทศบาสก์ เพราะว่าไม่น่าจะมีใครไม่เห็นด้วย (ขนาดกฏหมายสเปนยังเรียกอย่างนี้)

แค่จะเลือกคำมาเรียกที่ๆผมไปเที่ยวมานี่ก็ยาวเกือบหน้าแล้ว ผมจึงขอให้ย่อหน้านี้เป็นตอนจบของบทที่หนึ่งไปเลยละกัน

ขอโม้

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้ขี่จักรยานระยะทางไปกลับหกสิบกิโลเมตร ภายใต้อากาศที่ต่ำกว่าติดลบสิบองศา ผมดีใจที่ได้มีโอกาสทำอะไรเช่นนี้ หนึ่งเพราะมันเป็นประสบการณ์ที่แม้เหนื่อยแต่ก็สวยงาม สองเพราะมันทำให้ผมได้มาเขียนโม้ในบทความนี้

มันเริ่มจากว่าเพื่อนๆที่โรงเรียนชวนกันไปฉลองวันเกิดของเพื่อนสองคนที่บ้านพักตากอากาบนเนินเขาในเขตประเทศฝรั่งเศส ไปวันเสาร์ กลับวันอาทิตย์ ห่างจากตัวเมืองเจนีวาออกประมาณสามสิบกิโลเมตร ระหว่างที่ทุกคนกำลังถกกันถึงว่าใครจะขึ้นรถใครไป เพื่อนผมที่ชื่อโลวิสก็ได้บอกว่าเขาจะขี่จักรยานไป เขาหันมาชวนผม

ผมลังเล….ระยะทางสามสิบกิโลเมตรที่มีขึ้นลงเขาปะปนอยู่ด้วยนั้นเป็นไปได้แน่ถ้าจะขี่ และวิวก็น่าจะสวยไม่เบา แต่มีความกลัวหลายข้อที่ผุดขึ้นมาในหัวผม หนึ่งมันหนาวมากซึ่งอาจทำให้เป็นตะคริวหรือไม่สบายได้ สองผมกลัวว่าจะเหนื่อยและปาร์ตี้คืนนั้นไม่สนุก สามถนนลื่นเพราะอาจจะมีหิมะหรือน้ำแข็ง

เพื่อนๆทุกคนให้ความเห็นการกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องที่บ้ามาก เพราะเหตุผลเหมือนข้อหนึ่งและสามของผม บวกกับกลัวว่าเราสองคนจะหลงทางเพราะที่จะๆไปนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ

แต่โลวิสมีทีท่าเหมือนกับว่าเขาจะทำอะไรที่เป็นเรื่องปกติสุดๆ และไม่มีปัญหาใดๆทั้งสิ้น เมื่อเพื่อนๆหลายคนถามว่าหนาวและไกลขนาดนั้นจะปั่นไปได้ไง โลวิสตอบสั้นๆง่ายๆว่า “ปั่นไงล่ะ”

อาจจะเป็นคำตอบสั้นๆง่ายๆนี้ที่ทำให้ผมตัดสินใจปั่นไปกับเขา อีกอย่างคือจักรยานที่โลวิสขี่นั้นน่าจะเข้าข่ายคำว่าบุโรทั่ง ส่วนของผมนั้นเป็นเสือภูเขาที่จัดอยู่ในสภาพใหม่ทีเดียว ผมจึงบอกตัวเองว่าถ้าโลวิสเห็นว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา ทำไมผมไม่ลองทำมันดูล่ะ

และแล้วผมก็ตัดสินใจร่วมทางไปกับเขาด้วยการ ปั่น

อย่างไรก็ดี เราก็ไม่ใช่คนบ้าสองคนที่อยู่ดีๆจะขี่ไปซะอย่างนั้น เรามีการเตรียมการณ์กันเป็นอย่างดี เราศึกษาแผนที่ รู้ว่าต้องเลี้ยวตรงไหนบ้าง มีการพูดคุยว่าต้องเตรียมการกันหนาวอย่างไรบ้าง มีหมวกกันน็อก และเตรียมจักรยานให้อยู่ในสภาพพร้อม รวมทั้งก่อนออกก็ได้กินมะนาวสดๆไปคนละครึ่งลูกเพื่อกันป่วย

ถึงเวลาปั่นจริงก็ไม่ได้หนาวขนาดนั้นเพราะร่างกายอุ่นจากการออกแรงปั่น ยิ่งพอถึงช่วงที่ออกจากตัวเมืองไปแล้วก็เป็นช่วงขึ้นเขาต่อเนื่องจนห่างจุดหมายประมาณหกกิโลเมตร การปั่นขึ้นเนินติดต่อกันเป็นชั่วโมงนั้นคงยากกว่านี้มากถ้าหากไม่มีทิวทัศน์ของ ทุ่งหญ้า ภูเขา บ้านเรือน ถนน ต้นไม้ ที่ล้วนถูกปกคลุมด้วยสีขาวของหิมะ อีกทั้งการหยุดกลางทางเพื่อกินแซนด์วิชเเละดื่มเบียร์ก็ช่วยเพื่มพลังอีกมิใช่น้อย

ถึงตอนนี้ขอโม้ถึงโลวิสสักหน่อย เขาได้แสดงให้ผมเห็นว่าการขี่จักรยานครั้งนี้ที่ผมถึงกับเอามาเขียนโม้เป็นบทความนั้นเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยจริงๆสำหรับเขา ตอนที่แวะซื้อของทีซุปเปอร์มาร์เก็ตก่อนออกจากตัวเมือง เขาได้ซื้อผักผลไม้จำนวนมากเพื่อเอากลับบ้านในวันถัดไป (เพราะว่าวันอาทิตย์ทุกอย่างที่เจนีวาปิดหมด) อีกทั้งเบียร์และไวน์อีกหลายขวดที่เราแชร์กันซื้อสำหรับปาร์ตี้ นี่ยังไม่รวมเสื้อผ้าและถุงนอนที่อยู่ในเป้อยู่แล้ว  ผมบอกเขาว่าไม่ต้องซื้อเยอะขนาดนั้นก็ได้เพราะมันหนัก แต่เขาก็บอกว่าไม่มีปัญหา และทั้งทางเขาก็ไม่มีปัญหาจริงๆ แม้ว่าจักรยานของเขาจะเป็นจักรยานแข่งบุโรทั่งที่ล้อบางนิดเดียวและเกือบไม่มีดอกยาง เขาก็ผ่านถนนที่ปกคลุมด้วยหิมะหนาไปอย่างสบายกว่าผมที่ขี่เสือภูเขาพร้อมยางที่เข้าข่ายออฟโรด หลายครั้งที่เขาต้องหยุดรอผมที่หอบแฮ่กๆตามมา สองครั้งที่เขาหยุดรอเขาจุดบุหรี่สูบหน้าตาเฉย!

และแล้วก็ขอโม้ว่าพอไปถึงแล้วก็ไม่ได้เหนื่อยอะไรมากมาย ยังมีแรงออกไปเดินเล่น วิ่งเล่นและไถลเล่นบนเลื่อนหิมะกับเพื่อนๆที่นั่งรถยนต์มา และจากนั้นก็ปาร์ตี้อย่างสนุกสนานไม่ได้หมดเรี่ยวแรงอย่างที่กลัวไว้ตอนแรก แม้ว่าขากลับจะเหนื่อยกว่าเดิมอีกหน่อย แต่ก็กลับมาถึงเจนีวาอย่างไม่มีปัญหา

บ้านที่ไปอยู่คืนนั้นสวยและอบอุ่น ธรรมชาติที่ล้อมรอบงามจนสามารถไปโม้ต่อเป็นอีกหนึ่งบทความได้ ผมเชื่อว่านักเรียนดนตรีทั้งสิบห้าคนที่ไปค้างคืนคืนนั้นมีได้มีเวลาที่ดีมากๆร่วมกัน แต่ผมกับโลวิสได้มีประสปการณ์ที่พิเศษกว่าอีกสิบสามคนที่นั่งรถไป เริ่มตั้งแต่ที่เราเปิดกูเกิ้ลแมพส์เพื่อศึกษาทาง จนไปจบที่ตอนเตะขาตั้งจักรยานลงเมื่อกลับถึงบ้าน

Great Aletsch Glacier

 

 

Glacier (n.)- a slowly moving mass or river of ice formed by the accumulation and compaction of snow on mountains or near the poles.

 

Our destination was not just a glacier, but the largest glacier in the Alps and western Eurasia: the “Great Aletsch Glacier”. Spanning more than 120 square kilometers, with over 23 kilometers of length, and depth of nearly one kilometer, it is located in the eastern Bernese Alps in the Valais canton of Switzerland.

 

Our goal was to appreciate this very glacier not only with the sense of sight, but with the sense of touch.

 

From Betten train station, there is a cable cabin service to the starting point of this trip, the lovely village of Bettmeralp. Magnificence initiated already while gaining altitude with the cable cabin, one summit after another join into the gratifying landscape of Pennine Alps. One of the summits visible was the Matterhorn, which is the trademark of the famous Toblerone chocolate bars.

 

From the cable cabin station at Bettmeralp, we began our journey to the Great Aletsch Glacier by foot, the simplest yet very enjoyable means of travel to this very destination. Walking through the village was by far very special. There was always an adorable sight of the village and green grass on one side and the wonderful view of the white capped Pennine Alps on the other. The sounds of cow bells accompanied us through out of Bettmeralp.

 

After walking past the last wooden buildings, the path led us straight up. Within fifteen minutes we reached the Bettmersee lake. The water in the lake was very still thus creating a duplicate of the beautiful scenery on its surface.

 

Two hours of hiking passed and there we were at the highest point of this journey. We were on top of Bettmerhorn, at elevation of 2,872 meters. The Great Alesch Glacier became visible for the first time here. The breathtaking sight of it seemed to have removed any exhaustion acquired from the hike to reach this peak. The glacier itself appeared to be a gigantic white river that was frozen in motion. We decided that there was no better spot to stop, sit down, take in into us the amazing view, and take out our lunch.

 

After finishing lunch, we moved on to reach the spot where the glacier curves. There lays the spot where we can actually touch the glacier. It was a hike along the mountainside with the path which leads to the curve in front, the glacier down to the left and the mountain to the right.

 

During four hours, the curve of the glacier seemed closer and closer, and then the path led us down. The scenery of the path changed to a big field filled with rocks and stones of various sizes. A small water stream escorted us to the glacier.

 

The moment long waited for finally came. The glacier did not appear to us as a glacier anymore, it seemed like a gigantic stone wall, standing very tall and white. Going closer until the wall was within reach of hands, we were assured it was made entirely of out ice. Though it was just frozen water, it was a very special experience to have touched the 18,000 years old glacier.

We left the glacier behind and walked through a tunnel which led to another side of the mountain (the side where we started). Again, we walked along the mountainside, but this time with the sunset behind the Pennine Alps. We finally reached Bettmeralp to take the cable cabin. We retreated this paradise, and realized that our bodies were completely exhausted, but our minds perfectly replenished.